ระเบียบการโรงเรียนกลับเพชรศึกษา
|
เวลาเรียน
ห้องเด็กเล็ก ปฐมวัยปีที่ 1 – 2 ตั้งแต่ เวลา 07.50 น. – 15.00 น.
ปฐมวัยปีที่ 3 และประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ตั้งแต่ เวลา 07.50 น. – 16.00 น.
พักกลางวัน
- ระดับการศึกษาปฐมวัยปีที่ 1 – 3 เวลา 10.45 น. – 11.45 น.
- ระดับประถมศึกษา เวลา 12.00 น. - 13.00 น.
วันหยุด
- หยุดประจำสัปดาห์ (เสาร์ - อาทิตย์)
- วันหยุดราชการ
- หยุดประจำภาคเรียน
- หยุดตามที่โรงเรียนกำหนด เช่น จัดกิจกรรม (ถ้ามี)
การหยุดเรียนของนักเรียน
- นักเรียนที่ป่วยเป็นโรคติดต่อจะต้องหยุดเรียนจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ
- นักเรียนหยุดเรียนเพราะป่วยหรือสาเหตุอื่น ๆ โปรดแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบภายในวันนั้นทางโทรศัพท์หรือจดหมาย
การจำหน่ายนักเรียน
1. เรียนจบหลักสูตร
2. ลาออก
3. ขาดเรียนเกินกำหนด โดยไม่แจ้งสาเหตุให้โรงเรียนทราบ
4. เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
5. ตาย
การลาออก
- ให้แจ้งทางโรงเรียนทราบก่อนล่วงหน้าก่อนวันที่ 30 เมษายน
- การออกระหว่างปีโปรดแจ้งก่อนล่วงหน้า 1 สัปดาห์ เพื่อความสะดวกในการออกหลักฐาน
- การแจ้งออกหลังจากเปิดเรียนไปแล้ว 2 สัปดาห์ โรงเรียนจะคิดค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน
- นำรูปถ่ายชุดนักเรียนในปัจจุบัน ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป ส่งฝ่ายทะเบียน กรณีย้ายไปต่างจังหวัด (ยกเว้นระดับประถมศึกษา)
การรับ – ส่งนักเรียน
- ทางโรงเรียนมีบริการรถรับ – ส่ง นักเรียน
- ผู้ปกครองรับนักเรียนได้ตั้งแต่เวลา 16.10 น. – 17.00 น.
- เวลาส่งนักเรียน ส่งที่ประตูหน้าหรือประตูหลังเวลา 07.00 น. – 07.50น. หลัง 07.50 น. ถือว่ามาสาย
- ในการรับนักเรียนจะต้องแสดงบัตรรับนักเรียนแก่ครูเวรหรือครูประจำชั้น ซึ่งทางโรงเรียนจะออกให้กับผู้ปกครองในวันที่รับสมัคร
- นักเรียนระดับประถมศึกษามาสายเกิน 3 ครั้ง ฝ่ายปกครองจะเชิญผู้ปกครองพบเพื่อหาแนวทางแก้ไข
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เด็กเล็ก ( เนอรสเซอรี ) ค่าอาหาร และค่าเลี้ยงดู เดือนละ 1,500 บาท และฟรีค่าประกันอุบัติเหตุ
ระดับการศึกษาปฐมวัยปีที่ 1 – 3
Ø ค่าธรรมเนียมการศึกษา ชั้นปฐมวัยปีที่ 1 – 3 (เบิกได้ และเบิกไม่ได้) ภาคเรียนละ 1,937 บาท
Ø ค่าอาหารกลางวัน ภาคเรียนละ 2,000 บาท
Ø ค่าแบบฝึกและอุปกรณ์การเรียน ภาคเรียนละ 665 บาท
Ø ค่าเรียนคอมพิวเตอร์ (ชั้นปฐมวัยปีที่ 3) ภาคเรียนละ 500 บาท
Ø ค่าบริการรถโรงเรียน อัตราขึ้นอยู่กับระยะทาง
ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – 6
Qค่าธรรมเนียมการศึกษา (เบิกได้ และเบิกไม่ได้) ภาคเรียนละ 1,702 บาท
Qค่าอาหารกลางวัน (ป.1-4 ) ภาคเรียนละ 2,200 บาท
Qค่าแบบฝึกและอุปกรณ์การเรียน ภาคเรียนละ 600 บาท
Qค่าเรียนคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนละ 600 บาท
Qค่าเรียนภาษาอังกฤษสอนโดยชาวต่างชาติ ภาคเรียนละ 600 บาท
Qค่าเรียนพิเศษเสริมหลักสูตร ( ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ) ภาคเรียนละ 500 บาท
Qค่าบริการรถโรงเรียน ( อัตราขึ้นอยู่กับระยะทาง )
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
{ ที่นอน (ระดับปฐมวัย) ชุดละ 240 บาท
{ เสื้อคลุมกันเปื้อน (ระดับปฐมวัย) ตัวละ 70 บาท ฟรี ... ประกัน
{ ถุงผ้า (ระดับประถมศึกษา) ถุงละ 30 บาท “อุบัติเหตุ”
{ หูกระต่าย (ระดับประถมศึกษา) อันละ 30 บาท …. นักเรียน .....
{ ชุดนักเรียน และชุดพละ ราคาตามขนาด
{หนังสือแบบเรียน – สมุด มีจำหน่ายที่โรงเรียน
ระเบียบโรงเรียนกลับเพชรศึกษา
ว่าด้วยการเดินทางไปกลับระหว่างบ้าน – โรงเรียน พ.ศ. 2545
…………………………………………
เพื่อนักเรียนทุกคนต้องเดินทางมาโรงเรียนให้ทันก่อนโรงเรียนเข้าเวลา 07.50 น. เพื่อได้เข้าร่วมกิจกรรมตอนเช้าหน้าเสาธง เพื่อให้การปฏิบัติกิจกรรมการเดินทางไปกลับระหว่างบ้าน – โรงเรียน
จึงได้วางระเบียบนี้ขึ้น ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนกลับเพชรศึกษา ว่าด้วยการเดินทางไปกลับระหว่างบ้าน - โรงเรียน พ.ศ. 2545”
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3 หากมีระเบียบอื่นใดเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมหน้าเสาธง ซึ่งขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ 4 ในระเบียบนี้
“โรงเรียน” หมายถึง โรงเรียนกลับเพชรศึกษา
“ครู” หมายถึง ครูโรงเรียนกลับเพชรศึกษา
“นักเรียน” หมายถึง นักเรียนโรงเรียนกลับเพชรศึกษา
“ผู้ปกครอง” หมายถึง บุคคลซึ่งรับนักเรียนไว้ในความปกครองหรืออุปการะเลี้ยงดู หรือบุคคลที่นักเรียนอาศัยอยู่
ข้อ 5 นักเรียนที่ผู้ปกครองมารับ – ส่ง และรถประจำต่าง ๆ สามารถรับส่งได้ ทั้งประตูหน้าโรงเรียนและประตูหลังโรงเรียน
ข้อ 6 นักเรียนที่โรงเรียนอนุญาตให้เดินทางกลับบ้านได้เองคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 เท่านั้นแต่ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครองแจ้งให้โรงเรียนทราบ และโรงเรียนจะออกบัตรอนุญาตนักเรียนกลับบ้านด้วยตนเอง
ข้อ 7 กรณีนักเรียนมาสายได้รับการลงชื่อประจำวัน จากสภานักเรียนเพื่อติดตามการรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา
ข้อ 8 การรับนักเรียนกลับในตอนเย็น นักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยให้ผู้ปกครองรับที่ห้องเรียน และประกาศชื่อแล้วนักเรียนออกมา พร้อมแสดงบัตรรับนักเรียน ส่วนนักเรียนระดับประถมศึกษาจะประกาศชื่อนักเรียนแล้วนักเรียนลงมา โดยมีสภานักเรียนที่เป็นเวรประจำวันพร้อมกับคุณครูเวรประจำวันทุกวันดูแล ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ได้นำบัตรรับนักเรียนมา ให้ใช้บัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการแสดงต่อครูประจำชั้น
ข้อ 9 ครูเวรประจำวันและสภานักเรียนที่เป็นเวรปฏิบัติหน้าที่เวรประตูหน้าและประตูหลังโรงเรียน เวลาเช้า 07.00 น. – 07.50 น. เวลาเย็น 15.00 น. – 17.30 น.
ข้อ 10 ให้หัวหน้าเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2545
ลงชื่อ …………………………...........
(นางเพ็ญธนา ดำรงคดีราษฎร์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนกลับเพชรศึกษา
ระเบียบโรงเรียนกลับเพชรศึกษา
ว่าด้วยการแต่งกายนักเรียน พ.ศ. 2550
…………………………………………..
เพื่อให้การแต่งกายของนักเรียน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องและประหยัด โรงเรียนจึงได้วางระเบียบนี้ขึ้น ดังนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนกลับเพชรศึกษา ว่าด้วยการแต่งกายของนักเรียน พ.ศ.2550”
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3 ในระเบียบนี้
“โรงเรียน” หมายถึง สถานศึกษาโรงเรียนกลับเพชรศึกษา
“ครูใหญ่” หมายถึง ครูใหญ่โรงเรียนกลับเพชรศึกษา
“ครู” หมายถึง ครูโรงเรียนกลับเพชรศึกษา
“นักเรียน” หมายถึง นักเรียนโรงเรียนกลับเพชรศึกษา
ข้อ 4
4.1 เครื่องแบบนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยปีที่ 1 – 3
เสื้อ แบบคอแหลม เอวจั๊ม สีขาว ผ่าอกตลอดไม่มีสายใช้กระดุมสีขาวกลม
แขนสั้นเหนือข้อศอกมีกระเป๋าติดแนบราวนมด้านซ้าย บนกระเป๋าปักอักษรย่อ ก.ศ.
กางเกง (สำหรับนักเรียนชาย) ใช้กางเกงขาสั้นสีน้ำเงินสั้นเหนือเข่า เอวมียางที่ขอบเอวด้านซ้าย – ขวา ปลายขาพับปลายเข้าด้านใน กว้างประมาณ 6 ซ.ม. ผ่าตรงส่วนหน้าใช้ซิบรูดซ่อนไว้ข้างใน มีกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้างด้านละ 1 กระเป๋า ไม่มีกระเป๋าหลัง
กระโปรง (สำหรับนักเรียนหญิง) ใช้กระโปรงสีน้ำเงิน จีบรอบ เอวรูด มีกระเป๋าด้านขวา 1 กระเป๋า
เสื้อคลุม
- ระดับเนอรสเซอรี ใช้เสื้อคลุม สีเขียวอ่อน
- ระดับปฐมวัยปีที่ 1 ใช้เสื้อคลุม สีฟ้า
- ระดับปฐมวัยปีที่ 2 ใช้เสื้อคลุม สีแดง
- ระดับปฐมวัยปีที่ 3 ใช้เสื้อคลุม สีเขียว
การปักชื่อ
ระดับปฐมวัยปีที่ 1 – 3 ปักชื่อ – สกุล บนกระเป๋าเสื้อคลุม และปักชื่อเล่นไว้ด้านล่างด้วยไหมสีแดง
เครื่องแบบนักเรียนชาย – หญิง ระดับปฐมวัยปีที่ 1 - 3
ปฐมวัยปีที่ 1 ปฐมวัยปีที่ 2 ปฐมวัยปีที่ 3
4.2 เครื่องแบบนักเรียนระดับประถมศึกษา
4.2.1 เครื่องแบบนักเรียนชาย
เสื้อ แบบเชิ้ตคอตั้ง ผ้าขาวเกลี้ยงไม่บางจนเกินไปผ่าอกตลอด มีสาปที่อกเสื้อ ใช้
กระดุมสีขาว – กลม – แบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 ซม. แขนสั้นเหนือข้อศอก มีกระเป๋าติดแนบราวนมด้านซ้าย พอเหมาะกับขนาดของเสื้อ ด้านหลังไม่มีจีบ เสื้อต้องไม่คับและไม่หลวมจนดูไม่สุภาพเวลาสวมเสื้อสอดชายเสื้อไว้ในกางเกง
ส่วนประกอบของเสื้อ ที่อกเสื้อด้านขวาปักอักษรย่อ ก.ศ. สูง 1.5 ซม. ปักชื่อ- สกุล สูง 1 ซม. โดยใช้ไหมสีแดงปักทึบไว้ด้านล่าง ก.ศ. และติดเลขระดับชั้น / ห้องไว้ใต้ชื่อ
กางเกง ขาสั้นแบบคาดเข็มขัด มีหูสำหรับร้อยเข็มขัด 7 หู มีจีบกลับข้างละ 2 จีบ
ขาสั้นเหนือเข่า พ้นกลางสะบ้าหัวเข่าขึ้นมาประมาณ 5 ซม. เมื่อยืนตรงส่วนกว้างของกางเกงห่างจากขาตั้งแต่ 8 – 12 ซม. ตามส่วนขนาดของขา ปลายขาพับปลายเข้าข้างในกว้าง 6 ซม. ผ่าตรงส่วนหน้าใช้ซิบรูดซ่อนไว้ข้างใน มีกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้างด้านละ 1 กระเป๋า ไม่มีกระเป๋าหลัง ลักษณะสีของกางเกง ตั้งแต่ ป.1 – ป.6 กางเกงสีน้ำเงิน
ถุงเท้า ใช้ถุงเท้าธรรมดา สีขาว เรียบ ไม่มีลวดลาย ไม่มีลูกฟูก ไม่บางหรือไม่หนา
เกินไป เวลาสวม ต้องสูงกว่าตาตุ่มขึ้นไป อย่างน้อย 3 นิ้ว พับปลาย
รองเท้า ใช้รองเท้าแบบหุ้มส้น หุ้มปลายเท้า ชนิดผูกเชือกเป็นหนัง หรือผ้าใบ
สีดำล้วนไม่มีลวดลาย
เข็มขัด ใช้เข็มขัดลูกเสือหนังสีน้ำตาล เมื่อคาดทับกางเกง ให้คาดให้ตึงพอดีกับ
สะเอว ห้ามคาดหลวม ๆ ปล่อยหัวเข็มขัด ห้อยลงจนดูไม่สุภาพ หรือไม่ดึงชายเสื้อมาปิดบังหัวเข็มขัด
ทรงผม นักเรียน ป.1 – ป.4 อนุญาตให้ไว้รองทรงได้ นักเรียน ป. 5 และ ป. 6
ตัดผมเกรียนทรงนักเรียน ห้ามใส่น้ำมันเจล
อุปกรณ์การเรียน กระเป๋าใส่หนังสือ ให้ใช้กระเป๋าใส่หนังสือแบบนักเรียน สีน้ำเงิน
สีน้ำตาล สีดำ หูหิ้ว หรือกระเป๋าอื่นสีดำ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกระเป๋าหนังสือนักเรียน ไม่มีลวดลายห้ามใช้ถุง เป้ ย่าม หรืออื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุ
เครื่องประดับ อนุญาตให้แขวนสร้อยคอทำด้วยเงิน หรือโลหะสแตนเลส
สำหรับแขวนพระเท่านั้น นาฬิกาข้อมือ สายโลหะ หรือสายหนังไม่มีลวดลาย
4.2.2 เครื่องแบบนักเรียนหญิง
เสื้อ คอโปโลบัวแหลมมีกระเป๋าติดริมขอบเสื้อด้านล่างขวา ผูกโบว์สีน้ำเงินที่อก
เสื้อด้านขวาปักอักษรย่อ ก.ศ สูง 1.5 ซม. ปักชื่อ – สกุล สูง 1 ซม. ไว้ด้านล่าง ก.ศ. โดยใช้ไหมสีแดงปักทึบและติดเลขระดับชั้น / ห้องไว้ใต้ชื่อ
กระโปรง ใช้สีน้ำเงินจีบรอบ ความยาวคลุมเข่า
รองเท้า ใช้รองเท้าหนังสีดำ หุ้มส้น ไม่มีลวดลาย
ถุงเท้า ใช้ถุงเท้าสีขาวแบบธรรมดา ไม่มีลวดลาย เวลาสวมพ้นปลายให้ขอบบน
ถุงเท้าอยู่สูงเลยตาตุ่ม พับปลาย
ทรงผม ทรงผมนักเรียน ตัดสั้น ไม่ดัดหรือซอย ห้ามใช้เครื่องประดับต่าง ๆ เพื่อ
การเสริมสวยนักเรียนหญิง ป.1 – ป.4 อนุญาตให้ไว้ผมยาวได้ โดยใช้โบว์ผูกผมสีน้ำเงินเท่านั้น เป็นแบบริบบิ้น กว้างไม่เกิน 1 นิ้ว ใช้กิ๊บดำธรรมดา
4.2.3 เครื่องแบบชุดพลศึกษา
กางเกง ใช้กางเกงวอร์มขายาวสีฟ้า ปลายขารวบ เสื้อยึดคอกลมสีชมพู แขนสั้น ตาม
แบบที่โรงเรียนกำหนด อกเสื้อด้านขวาปักชื่อ – สกุล สูงประมาณ 1 ซม.
รองเท้า ใช้รองเท้าผ้าใบสีขาว ไม่มีลวดลาย แบบผูกเชือก
ถุงเท้า ใช้ถุงเท้าสีขาว ไม่มีลวดลาย
4.2.4 เครื่องแบบลูกเสือ – เนตรนารีสำรอง
ข้อ 1 เครื่องแบบลูกเสือสำรอง - เนตรนารีสำรอง ประกอบด้วย
(ก) หมวกทรงกลมมีกะบังหน้าหมวก ทำด้วยผ้าสีกรมท่า ตัวหมวกเย็บด้วยผ้า
6 ชิ้น แนวตะเข็บระหว่างชิ้นและขอบหมวกโดยรอบทาบด้วยด้ายหรือไหมถักสีเหลือง เมื่อเข้าพิธีประจำกองแล้ว มีตราหน้าหมวกรูปหน้าเสือและอักษรใต้หน้าเสือว่า “ลูกเสือ” สีเหลือง บนผ้าสีกรมท่า ขลิบริมสีกรมท่ารูปไข่ ยาว 4 ซม. กว้าง 3.5 ซม ส่วนเนตรนารีติดสัญลักษณ์เนตรนารีที่หน้าหมวก
(ข) เสื้อแขนสั้น เป็นเสื้อนักเรียน ติดเครื่องหมายตามที่กำหนด ให้สอดชายเสื้ออยู่
ภายในกางเกง
(ค) ผ้าผูกคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐาน 90 ซม.ด้านตั้ง 65 ซม. สีชมพู ฟ้าและมี
ห่วงซึ่งไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์สวมผ้าผูกคอ
(ง) ลูกเสือใช้กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน ( ใช้กางเกงนักเรียน ) / เนตรนารีใช้กระโปรง
นักเรียน
(จ) เข็มขัดหนังสีน้ำตาล กว้างไม่เกิน 3 ซม. หัวชนิดหัวขัดทำด้วยโลหะสีทอง มี
ลายดุนรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติภายในกรอบช่อชัยพฤกษ์ (เฉพาะลูกเสือ)
(ฉ) ถุงเท้า รองเท้า ลูกเสือใช้รองเท้านักเรียนผ้าใบสีดำ ผูกเชือก ถุงเท้าขาวไม่มี
ลาย / เนตรนารีใช้รองเท้านักเรียนสีดำ ถุงเท้าขาวไม่มีลาย
ข้อ 2 เครื่องแบบลูกเสือสามัญ ประกอบด้วย
(ก) หมวกปีกกว้างสีกากี พับปีกข้างขวาขึ้น ประดับด้วยดอกจันชั้นเดียว ทำด้วย
ผ้าสีกากี กลางดอกจันมีรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติทำด้วยโลหะสีทอง มีหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีน้ำตาลแก่ กว้าง 2 ซม. พันรอบหมวก มีหัวขัดสีน้ำตาลแก่ด้านซ้ายปีกหมวกสองข้างเจาะรูสำหรับร้อยสายรัด ด้านหลังศีรษะสายรัดทำด้วยเชือกถักสีเดียวกับหมวก ผูกเป็นปมไว้ข้างหลัง
(ข) เสื้อคอพับสีกากีแขนสั้นเหนือศอกผ่าอกตลอด ด้านขวาปักชื่อ – สกุลด้วยด้าย
สีแดงบนผ้าสีขาว อกเสื้อทำเป็นสาบ กว้าง 3.5 ซม. มีดุมเหนือเข็มขัด 4 ดุม อกมีกระเป๋าปะข้างละ 1 กระเป๋ามีแถบตรงกึ่งกลางกระเป๋า 1 ดุม มีอินธนูสีเดียวกับเสื้ออยู่เหนือบ่าทั้งสองข้าง ด้านไหล่กว้าง 3.5 ซม. เย็บติดกับตะเข็บไหล่เสื้อ ด้านคอกว้าง 2.5 ปลายมน มีดุมที่ปลายอินธนูทางด้านคอด้านละ 1 ดุม ดุมลักษณะกลมแบนทำด้วยวัตถุสีน้ำตาลแก่ ให้สอดชายเสื้ออยู่ภายในกางเกง
(ค) ผ้าผูกคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐาน 100 ซม. ด้านตั้ง 75 ซม.
สีเขียวอ่อน และมีห่วงซึ่งไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์สวมผ้าผูกคอ
(ง) กางเกงสีกากี ขาสั้นเหนือเข่าประมาณ 5 ซม. ส่วนกว้างของขากางเกงเมื่อยืน
ตรงห่างจากขาตั้งแต่ 8 – 12 ซม. ปลายขาพับเข้า กว้าง 5 ซม. ผ่าตรงส่วนหน้า ใช้ดุมขนาดย่อมขัดซ่อนไว้ข้างใน มีกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้างละ 1 กระเป๋า และมีหูร้อยเข็มขัดยาวไม่เกิน 6 ซม. กว้าง 1 ซม.
(จ) เข็มขัดหนังสีน้ำตาล กว้างไม่เกิน 3 ซม. หัวชนิดหัวขัดทำด้วยโลหะสีทอง มี
ลายดุมรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติภายในกรอบช่อชัยพฤกษ์
(ฉ) ถุงเท้ายาวสีกากี พับขอบไว้ใต้เข่า ใต้ขอบมีรอยรัดถุง
(ช) รองเท้าหนังหรือผ้าใบสีน้ำตาลแก่ไม่มีลวดลาย หุ้มส้นชนิดผูก
ข้อ 3 เครื่องแบบเนตรนารีสามัญ ประกอบด้วย
(ก) หมวกสีเขียวไม่พับจีบหลัง มีเข็มเนตรนารีติดอยู่ที่หน้าหมวก
(ข) เสื้อเนตรนารีสีเขียว ด้านขวาปักชื่อ-สกุลด้วยสีขาว ด้านซ้ายติดเข็มเนตรนารี แขนเสื้อด้านขวาติดป้ายชื่อโรงเรียน และติดตัวเลขกลุ่มเลขกองใต้ชื่อโรงเรียนแขนเสื้อด้านซ้ายติดเครื่องหมายหมู่
(ค) ผ้าผูกคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐาน 100 ซม. ด้านตั้ง 75 ซม. สีเขียวอ่อน และมีห่วงซึ่งไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์สวมผ้าผูกคอ
(ง) กระโปรงเนตรนารีสีเขียว (สีเดียวกับเสื้อ)
(จ) เข็มขัดเนตรนารีตามแบบกองลูกเสือ
(ฉ) ถุงเท้าสีขาว
(ช) รองเท้าหนังสีดำ (รองเท้านักเรียน)
เครื่องแบบนักเรียนระดับประถมศึกษา
ชุดนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ชุดพละศึกษาระดับปฐมวัยปีที่ 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6 ชุดเนตรนารี - ลูกเสือสำรอง
ชุดเนตรนารี-ลูกเสือสามัญ
ข้อ 5 ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ งานคุณลักษณะผู้เรียน เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ 30 เดือน เมษายน พ.ศ.2550
ลงชื่อ …………………………......
(นางเพ็ญธนา ดำรงคดีราษฎร์)
< |